ประวัติความเป็นมา พ.ศ. 2506 เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในชื่อของ แผนกสารบรรณ หน้าที่หลักในขณะนั้นคือ ผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน พิมพ์จดหมายออก รับและแจกจ่ายไปรษณียภัณฑ์ให้แก่ หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2521 เปลี่ยนชื่อเป็น แผนกตำราและคำสอน พ.ศ. 2529 ขยายการให้บริการเพิ่มขึ้น ณ วิทยาเขตรังสิต พ.ศ. 2535 โอนงานรับและแจกจ่ายไปรษณียภัณฑ์ของบุคลากร ให้แก่สำนักงานอธิการบดี ส่วนของนักศึกษาได้โอนให้แก่ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการไปดำเนินการแทน พ.ศ. 2545 เพิ่มศักยภาพทางการพิมพ์โดยการซื้อเครื่องพิมพ์ระบบ Digital on Demand ยี่ห้อฟูจิซีร็อกซ์ รุ่น DocuTech 6135 (เครื่องพิมพ์ขาว-ดำ) และรุ่น DocuColor 1250 (เครื่องพิมพ์สี่สี) พ.ศ. 2548 อาคารสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (อาคาร 17) ณ วิทยาเขตรังสิต ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,815 ตารางเมตร ดังนั้น ในเดือนตุลาคมสำนักพิมพ์ฯ จึงย้ายที่ทำการมาประจำ ณ อาคารแห่งนี้ ส่วนที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไท มีบุคลากรให้บริการผลิตสิ่งพิมพ์และข้อสอบเช่นกัน พ.ศ. 2549 ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพให้ปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีหน่วยงาน 1 แผนก คือ แผนกบรรณาธิกร มีหน้าที่หลัก คือ การให้บริการด้านงานก่อนการพิมพ์ (Pre-Prepress) เช่น การพิมพ์ ต้นฉบับ การพิสูจน์อักษร การออกแบบ และบริการให้คำปรึกษาด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ ตลอดจน คิดค่าใช้จ่ายในการผลิตสิ่งพิมพ์แก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยกรุงเทพมีมติอนุมัติให้เพิ่มอีก 1 แผนก คือ แผนกผลิตและการตลาด เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 โดยแผนกนี้มีหน้าที่หลักในการทำสำเนาสิ่งพิมพ์ ทุกประเภทและให้บริการหลังการพิมพ์ (Afterpress) อาทิ การตัด การพับ การเข้าเล่ม การตรวจสอบคุณภาพงาน (QC) ก่อนการจัดส่ง ทั้งนี้รวมถึงการตลาดเพื่อจัดจำหน่ายตำรา สู่ภายนอกและการรับจ้างทั่วไป ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สำนักพิมพ์ฯ ผ่านเว็บไซต์และ สื่อต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่สำนักพิมพ์ฯ ให้เป็นที่รู้จักแก่หน่วยงานภายนอก เป็นต้น |